1
พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
2
ข้อใด เป็นลมพายุที่พัดแรงฝนตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าเกิดขึ้นและบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นด้วย เราจะพบปรากฏการพายุฟ้าคะนองได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.พายุฟ้าคะนอง
3
พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
4
พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
5
พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
8
อักษร H คือ ข้อใด
ก.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ข.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน
ค.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ง.ทุกข้อ
9
อักษร L คือ ข้อใด
ก.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ข.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
ค.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน ง.ทุกข้อ
10
อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหากบริเวณนั้นมีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ข้อใด
ก.ลมทะเล ข.พายุฤดูร้อน
ค.พายุโซนร้อน ง.ลม
1
พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
2
ข้อใด เป็นลมพายุที่พัดแรงฝนตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าเกิดขึ้นและบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นด้วย เราจะพบปรากฏการพายุฟ้าคะนองได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.พายุฟ้าคะนอง
3
พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
4
พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
5
พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่าข้อใด
ก.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)
8 | อักษร H คือ ข้อใด ค.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ง.ทุกข้อ |
9 | อักษร L คือ ข้อใด ก.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ข.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ค.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน ง.ทุกข้อ |
10 | อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหากบริเวณนั้นมีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ข้อใด |
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนระหว่างที่สองแห่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน วิธีการถ่ายโอน พลังงานความร้อนแบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้
1. การถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของวัตถุจาก ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่วัตถุที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อนไม่ได้เคลื่อนที่ เช่น การนำแผ่นอะลูมิเนียมมาเผาไฟ โมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมที่อยู่ใกล้เปลวไฟจะร้อนก่อนโมเลกุลที่อยู่ไกลออก ไป เมื่อได้รับความร้อนจะสั่นมากขึ้นจึงชนกับโมเลกุลที่อยู่ติดกัน และทำให้โมเลกุลที่อยู่ติดกันสั่นต่อเนื่องกันไป ความร้อนจึงถูกถ่ายโอนไปโดยการสั่นของโมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียม
โลหะ ต่างๆ เช่น เงิน ทอง อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นวัตถุที่นำความร้อนได้ดี จึงถูกนำมาทำภาชนะในการหุงต้มอาหาร วัตถุที่นำความร้อนไม่ดีจะถูกนำมาทำฉนวนกันความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว กระเบื้อง เป็นต้น
2. การถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยวัตถุที่เป็นตัวกลางในการพาความร้อนจะเคลื่อนที่ ไปพร้อมกับความร้อนที่พาไป ตัวกลางในการพาความร้อนจึงเป็นสารที่โมเลกุลเคลื่อนที่ได้ง่าย ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส ลมบกลมทะเลเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศที่พาความร้อนจากบริเวณหนึ่งไปยัง อีกบริเวณหนึ่ง การต้ม การนึ่ง และการทอดอาหารเป็นการทำให้อาหารสุกโดยการพาความร้อน
3. การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น การแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์มายังโลก การแผ่รังสีความร้อนจากเตาไฟไปยังอาหารที่ปิ้งย่างบนเตาไฟ เป็นต้น
สมดุลความร้อน
สมดุลความร้อน หมาย ถึง ภาวะที่สารที่มีอุณหภูมิต่างกันสัมผัสกัน และถ่ายโอนความร้อนจนกระทั่งสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน (และหยุดการถ่ายโอนความร้อน) เช่น การผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็นเข้าด้วยกัน น้ำร้อนจะถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับน้ำเย็น และเมื่อน้ำที่ผสมมีอุณหภูมิเท่ากัน การถ่ายโอนความร้อนจึงหยุด
การดูดกลืนความร้อนของวัตถุ
วัตถุ ทุกชนิดสามารถดูดกลืนพลังงานรังสี การดูดกลืนพลังงานรังสีของวัตถุเรียกว่า "การดูดกลืนความร้อน" จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์พบว่า วัตถุที่มีผิวนอกสีดำทึบหรือสีเข้ม จะดูดกลืนความร้อนได้ดี วัตถุที่มีผิวนอกสีขาวหรือสีอ่อนจะดูดกลืน ความร้อนได้ไม่ดี
ใน ทำนองตรงกันข้าม วัตถุที่มีความร้อนทุกชนิดสามารถคายความร้อนได้เช่นกัน โดยวัตถุที่มีผิวนอกสีดำจะคายความร้อนได้ดี และวัตถุที่มีผิวนอกขาวจะคายความร้อนได้ไม่ดี
ใน ชีวิตประจำวันใช้ประโยชน์จากสมบัติของการดูดกลืนความร้อนและการคายความร้อน ของวัตถุในการเลือกสีทาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ชุดนักดับเพลิงมีสีสว่างและแวววาวเพื่อไม่ให้รับพลังงานความร้อนมากเกินไป บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในเขตร้อนนิยมทาด้วยสีขาว เป็นต้น
การขยายตัวของวัตถุ
วัตถุ บางชนิดจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนและจะหดตัวเมื่อคายความร้อน การขยายตัวของวัตถุเป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุ อัตราส่วนระหว่างขนาดของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปกับขนาดเดิมของวัตถุต่อ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า "สัมประสิทธิ์ของการขยายตัว" วัตถุใดที่มีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวมากจะขยายตัวได้มากกว่าวัตถุที่มี สัมประสิทธิ์การขยายตัวน้อย เช่น ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศเดียวกัน สังกะสี ตะกั่ว อะลูมิเนียม จะขยายตัวได้มากไปน้อย ตามลำดับ
ความ รู้เรื่องการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อนถูกนำไปใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง เช่น การเว้นรอยต่อของรางรถไฟ การเว้นช่องว่างของหัวสะพาน การประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ และการติดตั้งเทอร์มอสแตตไฟฟ้า เพื่อใช้ควบคุมระดับอุณหภูมิของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/18.htm
เมฆ
เมฆ
เมฆ คือน้ำในอากาศระดับสูงที่อยู่ในลักษณะหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง เกิดจากไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ เมื่ออุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
ชนิดของเมฆ
เมื่อใช้ระดับความสูงเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเมฆจะแบ่งเมฆออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. เมฆระดับต่ำ เกิดที่ความสูงต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ได้แก่
1.1 เมฆสเตรตัส มีลักษณะเป็นชั้นหรือเป็นแผ่นทึบ กระจายอยู่ทั่วไป
1.2 เมฆสเตรโตคิวมูลัส มีลักษณะเป็นแผ่น เป็นลอนกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ2. เมฆระดับกลาง อยู่ที่ระดับความสูง 2-5 กิโลเมตร ได้แก่
2.1 เมฆอัลโตสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ต่อเนื่องกัน มีสีเทาหรือสีน้ำเงินอ่อนแผ่กระจายครอบคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง
2.2 เมฆอัลโตคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวหรือสีเทามีลักษณะเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ประกอบด้วยเมฆก้อนขนาดเล็กๆ มากมาย เกิดหลังจากอากาศแปรปรวนผ่านพ้นไป
2.3 เมฆนิมโบสเตรตัส มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นชั้น มีสีเทาค่อนข้างต่ำ ถ้ามีเมฆชนิดนี้เกิดขึ้น มักจะมีฝนหรือหิมะตกแผ่เป็นบริเวณกว้าง แต่ตกไม่หนักมากนัก
3. เมฆระดับสูง อยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 5-10 กิโลเมตร ได้แก่
3.1 เมฆเซอรัส เป็นเมฆสีขาว เป็นปุยคล้ายใยไหม ค่อนข้างโปร่งแสง มีลักษณะเป็นเส้นๆ ต่อเนื่องกันคล้ายขนนก
3.2 เมฆเซอโรสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นสีขาวโปร่งแสง เป็นฝ้าบางๆ ราบเรียบเสมอกัน ทำให้เกิดวงแสงหรือการทรงกลดขึ้นรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เสมอ
3.3 เมฆเซอโรคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวแผ่นบางๆ ไม่มีเงาปรากฏขึ้นในก้อนเมฆ บางส่วนของเมฆมีลักษณะคล้ายระลอกคลื่นเล็กๆ และเป็นเส้นผสมกัน
นอกจากนี้ยังมีเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเหนือพื้นดินได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นและเกิดเป็นเมฆ เมฆชนิดนี้ ได้แก่ เมฆคิวมูลัสและเมฆคิวมูโลนิมบัส
1. เมฆคิวมูลัส เป็นเมฆที่ลอยตัวขึ้นช้าๆ พร้อมกับอากาศที่ลอยตัวสูงขึ้น ถ้าขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดจะกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งจัดเป็นเมฆฝนชนิดหนึ่ง
2. เมฆคิวมูโลนิมบัส หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง เป็นเมฆรูปทั่งขนาดใหญ่ ยอดเมฆมีลักษณะคล้ายขนนก พบได้บ่อยครั้งในฤดูร้อน และมักจะปรากฏพร้อมกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/20.htm
เมฆ คือน้ำในอากาศระดับสูงที่อยู่ในลักษณะหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง เกิดจากไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ เมื่ออุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
ชนิดของเมฆ
เมื่อใช้ระดับความสูงเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเมฆจะแบ่งเมฆออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. เมฆระดับต่ำ เกิดที่ความสูงต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ได้แก่
1.1 เมฆสเตรตัส มีลักษณะเป็นชั้นหรือเป็นแผ่นทึบ กระจายอยู่ทั่วไป
1.2 เมฆสเตรโตคิวมูลัส มีลักษณะเป็นแผ่น เป็นลอนกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ
2. เมฆระดับกลาง อยู่ที่ระดับความสูง 2-5 กิโลเมตร ได้แก่
2.1 เมฆอัลโตสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ต่อเนื่องกัน มีสีเทาหรือสีน้ำเงินอ่อนแผ่กระจายครอบคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง
2.2 เมฆอัลโตคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวหรือสีเทามีลักษณะเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ประกอบด้วยเมฆก้อนขนาดเล็กๆ มากมาย เกิดหลังจากอากาศแปรปรวนผ่านพ้นไป
2.3 เมฆนิมโบสเตรตัส มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นชั้น มีสีเทาค่อนข้างต่ำ ถ้ามีเมฆชนิดนี้เกิดขึ้น มักจะมีฝนหรือหิมะตกแผ่เป็นบริเวณกว้าง แต่ตกไม่หนักมากนัก
3. เมฆระดับสูง อยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 5-10 กิโลเมตร ได้แก่
3.1 เมฆเซอรัส เป็นเมฆสีขาว เป็นปุยคล้ายใยไหม ค่อนข้างโปร่งแสง มีลักษณะเป็นเส้นๆ ต่อเนื่องกันคล้ายขนนก
3.2 เมฆเซอโรสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นสีขาวโปร่งแสง เป็นฝ้าบางๆ ราบเรียบเสมอกัน ทำให้เกิดวงแสงหรือการทรงกลดขึ้นรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เสมอ
3.3 เมฆเซอโรคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวแผ่นบางๆ ไม่มีเงาปรากฏขึ้นในก้อนเมฆ บางส่วนของเมฆมีลักษณะคล้ายระลอกคลื่นเล็กๆ และเป็นเส้นผสมกัน
นอกจากนี้ยังมีเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเหนือพื้นดินได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นและเกิดเป็นเมฆ เมฆชนิดนี้ ได้แก่ เมฆคิวมูลัสและเมฆคิวมูโลนิมบัส
1. เมฆคิวมูลัส เป็นเมฆที่ลอยตัวขึ้นช้าๆ พร้อมกับอากาศที่ลอยตัวสูงขึ้น ถ้าขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดจะกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งจัดเป็นเมฆฝนชนิดหนึ่ง
2. เมฆคิวมูโลนิมบัส หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง เป็นเมฆรูปทั่งขนาดใหญ่ ยอดเมฆมีลักษณะคล้ายขนนก พบได้บ่อยครั้งในฤดูร้อน และมักจะปรากฏพร้อมกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/20.htm
ฝน
ฝน
ฝนเป็นน้ำที่เกิดจากกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศที่รวมกันเป็นเมฆกลายเป็นหยดน้ำ เมื่อหยดน้ำมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากจนอากาศไม่สามารถอุ้มไว้ได้ จึงตกลงมายังพื้นโลกเป็นฝน
การวัดปริมาณน้ำฝน
ปริมาณน้ำฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ำฝนในภาชนะที่รองรับน้ำฝน ทั้งนี้ภาชนะที่รองรับน้ำฝนจะต้องตั้งอยู่ในแนวระดับ และวัดในช่วงเวลาที่กำหนด หน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำฝนนิยมใช้ในหน่วยของมิลลิเมตร
การวัดปริมาณน้ำฝนจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน (rain gauge)" ซึ่งจะตั้งไว้กลางแจ้งเพื่อรับน้ำฝนที่ตกลงมา มีหลายแบบดังนี้
1. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบธรรมดา เป็นภาชนะทรงกลมที่ภายในมีกรวยเพื่อรองรับน้ำฝนที่ตกลงมา น้ำฝนที่รวบรวมได้จะไหลลงไปรวมกันในภาชนะรองรับ จากนั้นจึงนำน้ำที่เก็บไว้ในเครื่องมาตวง ก็จะทราบปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้ แต่เครื่องวัดน้ำฝนแบบนี้อาจได้ค่าแสดงปริมาณน้ำฝนคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนอาจระเหยไป และถ้ามีฝนตกลงมาน้อยกว่า 2.5 มิลลิเมตร จะวัดได้ยากมาก
2. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบป้องกันการระเหยของน้ำฝน โดยใช้ภาชนะทรงกลมตั้งบนหลอดขนาดเล็กสำหรับเก็บน้ำฝน เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบนี้สามารถใช้วัดปริมาณน้ำฝนได้ดี แม้จะมีฝนตกลงมาเพียงเล็กน้อยก็ตาม
3. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบไซฟ่อน (siphon rain gauge) เป็นเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบมาตรฐานที่ทำงานมีประสิทธิภาพดี ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้นำมาใช้และเป็นเครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบอัตโนมัติที่สามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้ตลอดเวลา
ละอองน้ำฝนหรือฝนที่ตกลงมาเป็นละอองจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
เม็ดฝนที่ตกลงมาขณะฝนตกหนักจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 2 มิลลิเมตร หรืออาจมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้ การเกิดฝนมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ปริมาณไอน้ำในอากาศ ที่มีจำนวนมากจะรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นเมฆ จากนั้นก็จะพัฒนาไปเป็นหยดของไอน้ำที่มี น้ำหนักมากขึ้น และตกลงสู่พื้นผิวโลก ยิ่งมีไอน้ำมากปริมาณของ น้ำฝนก็จะยิ่งมาก การตกแต่ละครั้งก็ตกนาน และตกได้บ่อยครั้ง
2. อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ มีส่วนในการรวมตัวกันของไอน้ำ และการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก อุณหภูมิที่สูงจะทำให้น้ำอยู่ในสภาพไอน้ำมากขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นเมฆ และถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงอีกไอน้ำจะรวมตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก
3. ลมซึ่งเป็นทั้งลมปกติและลมพายุ ลมเป็นปัจจัยในการพัดพาละอองไอน้ำให้ไปรวมกันตามบริเวณต่างๆ เมื่ออุณหภูมิลดลงจะตกลงมาเป็นฝน
# ลมที่เกิดตามปกติของประเทศไทยที่ทำให้เกิดฤดูฝน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้จะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่พื้นที่ของประเทศทำให้เกิดฝนตก เป็นช่วงฤดูกาล
#ลมที่เกิดเป็นกรณีพิเศษ คือ ลมพายุ (ลมพายุไต้ฝุ่น ลมพายุทอร์นาโด ลมพายุเฮอริเคน) ลมพายุจะเกิดขึ้นในมหาสมุทร มีกำลังแรงมาก จะพัดพาเอาไอน้ำจำนวนมหาศาลเข้าสู่พื้นดิน ไอน้ำจะรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝนจำนวนมากเป็นระยะเวลายาวนาน
4. ภูเขาและป่าไม้ ภูเขาเป็นส่วนที่สูงขึ้นมาจากผิวโลกจึงเป็นเหมือนกำแพงที่กั้นปะทะให้ไอน้ำมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ป่าไม้จะคายไอน้ำ ทำให้อุณหภูมิต่ำลงและทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก ภูเขาและป่าไม้จึงเป็นบริเวณที่ฝนจะตกมากเป็นพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ไม่มีภูเขาและป่าไม้
ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/21.htm
ลมและพายุ
ลมและพายุ
สภาพ พื้นผิวโลกแต่ละแห่งแตกต่างกัน ทำให้ความสามารถในการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน บริเวณป่าทึบจะดูดรังสีได้ดีที่สุด รองลงมาคือพื้นดินและพื้นน้ำ ตามลำดับ เป็นผลให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวมีอุณหภูมิและความกดอากาศต่างกัน และส่งผลทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ
การเกิดลมและพายุ
อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหากบริเวณนั้นมีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ลม ถ้าบริเวณทั้งสองแห่งมีความกดอากาศต่างกันมาก ลมจะพัดแรงจนบางครั้งเรียกว่า พายุ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ ในบริเวณที่พายุพัดผ่าน
ชนิดของลมและพายุ
1. ลมประจำภูมิภาคต่างๆ ของโลก ลมประจำภูมิภาคต่างๆ เช่น ลมที่พัดในซีกโลกใต้ พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปยังตะวันตกเฉียงเหนือ เรียกว่า "ลมค้า"
2. ลมประจำฤดู เป็น ลมที่พัดเป็นประจำตามฤดูกาล ลมมรสุมเป็นส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล มีทิศแน่นอนและสม่ำเสมอ สาเหตุใหญ่เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินและพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุทำให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงกันข้าม ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
2.1 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ---เป็น ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ในแถบมหาสมุทรอินเดีย ลมมรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก ฝนตกชุกทั่วไป
2.2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ---เป็น ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและ จีน จึงพัดเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
3. ลมประจำถิ่น เป็นลมที่เกิดเฉพาะแห่ง ในฤดูร้อนกลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งของประเทศไทยมีอากาศร้อนจัด เมื่อมีอากาศเย็นจากประเทศจีนพัดลงมาปะทะทำให้เกิดเป็นพายุ เรียกว่า พายุฤดูร้อน มีกำลังลมแรงจัดกว่าพายุดีเปรสชัน ทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนและต้นไม้หักโค่นได้
4. ลมประจำเวลา เป็นลมที่เกิดในช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น ในเวลากลางคืนอากาศเหนือพื้นดินเย็นว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ เนื่องจากพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่า อากาศจึงเคลื่อนที่จากฝั่งออกสู่ทะเล เรียกว่า ลมบก ส่วนในเวลากลางวันอากาศเหนือพื้นดินร้อนกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ เนื่องจากพื้นดินดูดความร้อนมากกว่าพื้นน้ำ อากาศจึงเคลื่อนที่จากพื้นน้ำเข้าสู่ฝั่งเรียกว่า ลมทะเล
5. พายุหมุนเขตร้อน เกิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 26.5 องศาเซลล์เซียส ความกดอากาศโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์ เกิดพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก โดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนเป็นวงตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ ตามข้อตกลงระหว่างประเทศได้กำหนดการเรียกชื่อพายุหมุนตามความรุนแรงดังนี้
ประเภทพายุหมุนเขตร้อน | ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง km/hr |
พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น | ไม่เกิน 63 63-118 มากกว่า 118 |
พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น
- พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า "ไซโคลน (Cyclone)"- พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน (Hurricane)"
- พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่า "ไต้ฝุ่น (Typhoon)"
- พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่า "วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)"
6. พายุฟ้าคะนอง เป็นลมพายุที่พัดแรงฝนตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าเกิดขึ้นและบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นด้วย เราจะพบปรากฏการพายุฟ้าคะนองได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/22.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น